ข้อมูลอาหารลาว

อาหารลาว เป็น อาหารของประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งแตกต่างจากอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ อาหารลาวมีอิทธิพลแก่อาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นอย่างมาก และอิทธิพลของอาหารลาวก็แผ่ไปถึงประเทศกัมพูชา และภาคเหนือของไทย ( ล้านนา ) อาหารหลักของลาวได้แก่ข้าวเหนียว ซึ่งจะรับประทานด้วยมือในความเป็นจริงชาวลาวจะรับประทานข้าวเหนียวมากกว่ากลุ่มใด ๆ ในโลก[1] ข้าวเหนียวถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่หมายถึงการเป็น ชาวลาว ชาวลาวหลายคนมักเรียกตนเองว่าลูกข้าวเหนียว ซึงแปลว่า เด็ก หรือ ลูกหลานของข้าวเหนียว ข่า,ตะไคร้ และ ปลาแดก(ปลาร้าในชื่อไทย) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารลาว
อาหารลาวที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ลาบ (ลาว : ລາບ; อังกฤษ:laap) โดยนำเนื้อสัตว์ที่ยังดิบผสมคลุกเข้ากับเครื่องเทศ และอาหารหลักของลาวอีกอย่างคือ ตำหมากหุ่ง (ลาว: ຕໍາໝາກຫຸ່ງ; อังกฤษ:Tam mak Hoong) โดยนำมะละกอ (ลาว:ໝາກຫຸ່ງ;หมากหุ่ง ) มาตำลงพร้อมพริก กระเทียม มะเขือเทศ มะนาว และอื่น ๆ ตำหมากหุ่ง หรือชื่อเรียกที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ ส้มตำ[2][3][4][5]
อาหารลาวจะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ และยังคงมีอิทธิพลของอาหารฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมหลงเหลืออยู่และยังเป็นที่นิยมในลาว โดยเฉพาะข้าวจี่ปาเต้ หรือข้าวจี่ลาวที่นำขนมปังฝรั่งเศสมายัดไส้ต่างๆ เช่น หมูยอ หมูหยอง แจ่วบอง ผักสด ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ข้าวจี่ปาเต้นี้ยังเป็นที่นิยมในประเทศแถบอินโดจีนอย่างเวียดนามและกัมพูชาอีกด้วย






อาหารลาวโดยทั่วไปนั้น มีลักษณะที่ปรุงแต่งน้อยที่สุด  เน้นความเรียบง่ายแบบธรรมชาติ รสชาติไม่ค่อยจัดจ้าน วิธีการทำไม่ซับซ้อน แม้อาหารในวังจะมีขั้นตอนมากกว่าอาหารของชาวบ้านก็ตาม ก็ยังถือว่าเน้นความเรียบง่ายอยู่  สามารถสรุปลักษณะของอาหารลาวได้ดังนี้ 1) การเน้นกินผัก กินปลา เนื่องจากธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ปลาบริเวณแม่น้ำโขงฝั่งลาวซึ่งเป็นจุดที่ปลาน้ำโขงอร่อยสุด  รวมถึงผักที่นำมารับประทานจะเป็นผักพื้นบ้านและผักสมุนไพร  2) อาหารประเภทแกงของลาวจะไม่ใส่กะทิ  3) อาหารลาวมีเครื่องปรุงรสที่สำคัญ คือ ปลาร้า รวมถึงเกลือและน้ำปลา ในภาคเหนือจะมีการใส่น้ำปูและถั่วเน่าด้วย  จึงมีรสเค็มและไม่ใส่น้ำตาล ในขณะที่สมัยก่อนพริกไทยเป็นเครื่องปรุงหลักในอุษาคเนย์  4) การปรุงอาหารของชาวลาว ส่วนใหญ่จะกระบวนการต้ม แกง นึ่ง คั่ว ย้ำ อั่วคือการยัดไส้  เอาะ คือลักษณะคล้ายแกงแต่มีน้อยกว่า ปิ้ง และขนาบ ซึ่งเป็นการนำอาหารที่ปรุงแล้วมาห่อใบตองแล้วนำไปปิ้งให้สุกด้วยไฟอ่อนๆ  และ 5) การกินอาหารคู่กับข้าวเหนียวนึ่ง (นันทนา ปรมานุศิษฏ์, 2556, น.44-45)
            ทั้งนี้ วัฒนธรรมการกินอาหารของลาว มีลักษณะและรสชาติที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค อย่างเช่น อาหารหลวงพระบางซึ่งถือว่าเป็นอาหารภาคเหนือของลาว มีรสชาติเบาที่สุดในบรรดาอาหารลาวของทั้งสามภาค เนื่องจากในอดีต หลวงพระบางเป็นเมืองหลวงของลาวเป็นเวลานาน อาหารแบบหลวงพระบางจึงถูกเปรียบว่าเป็นอาหารของผู้ดีหรืออาหารชาววัง ซึ่งเน้นการนึ่ง ต้ม เป็นส่วนใหญ่ วิธีการปรุงไม่ซับซ้อน อาหารประจำเมืองของหลวงพระบางคือ “เอาหลาม” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หากินไม่ได้ในถิ่นอื่นของเมืองลาว เครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้ของเมนูนี้คือ “สะค้าน” เถาไม้ประจำถิ่น  (ทรงคุณ จันทจร, 2551, น.93) นอกจากนั้นยังมีการนำ “ไค” ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืดมาประกอบอาหาร โดยการทำไคแผ่นทอดกินคู่กับแจ่วบอง “เลิ่นส้มไข่ปลาบึก” ทำจากไข่ปลาบึกดอง เป็นต้น  ในขณะที่อาหารหลวงพระบางจะคล้ายกับอาหารภาคเหนือของไทย  อาหารลาวที่เวียงจันทน์และลาวใต้ในจำปาสักก็เช่นกันที่มีลักษณะคล้ายกับอาหารอีสานของไทย โดยเฉพาะริมฝั่งโขงที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการกินระหว่างกันในบริเวณพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่เหมือนกัน
             แม้ว่าประเทศลาวจะไม่มีเมนูสำหรับอาหารทะเล เนื่องจากสภาพพื้นที่ตั้งที่ไม่ติดทะเล แต่การที่ลาวประชิดติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้ได้รับอิทธิพลจากประเทศข้างเคียงในเรื่องอาหารการกิน นอกจากวัฒนธรรมการกินระหว่างไทยกับลาวที่เหมือนกันแล้ว อาหารเวียดนามยังได้เข้ามาเป็นที่นิยมในการกินของประเทศลาวด้วย เช่น “เฝอลาว” โดยแทนที่ด้วยกะปิกับพริกย่างเป็นส่วนผสม  “พันผัก” ซึ่งเป็นการพันผักกับเนื้อสัตว์  รวมถึง ปอเปี๊ยะสด และปอเปี๊ยะทอดแบบลาว  ในขณะที่ลาวยังคงได้รับวัฒนธรรมการกินของฝรั่งเศสด้วย ไม่ว่าจะเป็น สลัดหลวงพระบาง   ข้าวจี่ปาเต้ หรือ ขนมปังบาแก็ตซึ่งทาด้วยตับบดและใส่ไส้ต่างๆ  รวมถึงซุปใสของฝรั่งเศส และวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ซึ่งกาแฟที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศคือกาแฟที่ปลูกในแขวงจำปาสัก (นันทนา ปรมานุศิษฏ์, 2556, น.46)
            จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมการกินของคนลาวนั้น มีปัจจัยสำคัญคือ ภูมิศาสตร์พื้นที่ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ผสมผสานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมการกินของชนชาติต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น การที่หลวงพระบางมีแม่น้ำคานไหลผ่าน และมีผักซึ่งเป็นเอกลักษณ์ คือ ไค (สาหร่ายน้ำจืด) ซึ่งมักเอาไปทำเป็นแผ่นตากแห้งขาย เวลากินก็เอามาตัดเป็นแผ่นเล็กๆ แล้วนำไปทอดเป็นอาหารว่างกินเล่น หรือเสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย (นันทนา ปรมานุศิษฏ์, 2556, น.129) ส่วนผักอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ ผักน้ำ หรือวอเตอร์เครส ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนผสมในเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ผสมลูกครึ่งและความพื้นถิ่น คือ สลัดหลวงพระบาง หรือ ยำผักแห่งแม่น้ำคาน  ซึ่งเป็นการทำน้ำสลัดฉบับชาวลาว สลัดผักดังกล่าวอาจถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากเมอซิเออร์ ออกุสต์ ปาวี ชาวฝรั่งเศสที่มายังหลวงพระบางตั้งแต่ปี พ.ศ.2430 แล้วก็เป็นได้ (นันทนา ปรมานุศิษฏ์, 2556, น.130)
             ในขณะที่วัฒนธรรมการกินของชาวลาวแบบดั้งเดิมรุ่นเก่านั้น ถึงแม้จะมีบรรยากาศสบายๆ แต่แฝงไว้ด้วยขนบธรรมเนียมที่เป็นแบบแผน โดยมีหลักสำคัญ 2 ประการที่ต้องคำนึงถึงเสมอ คือ “เปียบ” แปลว่า ศักดิ์ศรี เกียรติยศ และ “เลี้ยง” หมายถึงเลี้ยงดู ปรนเปรอ ซึ่งหลักการที่ใช้ในชีวิตของชาวลาวนี้ได้นำมาใช้ในวัฒนธรรมของกินด้วย  เช่น พ่อกับแม่ซึ่งอยู่ในฐานะใหญ่ที่สุดในครอบครัว เป็นผู้ตักกินคำแรก ตามด้วยสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัวตามลำดับอายุ รวมถึงการตระเตรียมอาหารให้มากเพียงพอกับแขกผู้ได้รับเชิญ เป็นต้น  (เพียสิง จะเลินสิน, 2553, น.25)
 คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจว่า อาหารก็คืออาหารอีสานของไทย ซึ่งนับว่าคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงมาก โดยทั่วไปแล้วอาหารลาวรสชาติมักไม่ค่อยจัดจ้าน มีรสธรรมชาติมาก เครื่องปรุงรสแต่เดิมใช้เกลือเพียงอย่างเดียว มาปัจจุบันชาวลาวทั้งประเทศนิยมใช้ผงชูรสกันมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติแล้วว่า ไม่ว่าเป็นอาหารใดก็ต้องใส่ผงชูรสไว้ก่อน เช่นเดียวกับเมืองไทยที่เรื่องวัฒนธรรมการกินอาหารถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ ภูมิภาค ชาวลาวภาคเหนืออย่างหลวงพระบางก็เช่นกัน จะมีลักษณะและรสชาติอาหารแตกต่างกันจากลาวภาคใตอย่างแถบเมืองปากเซ สะหวันนะเขต หรือแม้แต่ลาวภาคกลางเช่นเมืองเวียงจันทน์ ท่าแขก
สำหรับอาหารหลวงพระบางซึ่งถือว่าเป็นอาหารภาคเหนือของลาว รสชาติจัดว่าเบาที่สุดในบรรดาอาหารลาวทั้งสามภาค และเนื่องจากหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงของลาวอยู่เป็นเวลานาน แม้แต่ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง มีเมืองหลวงอยู่ที่เวียงจันทน์ แต่พระมหากษัตริย์และราชสำนักยังคงอยู่ที่หลวงพระบาง อาหารแบบหลวงพระบางจึงถูกเปรียบเทียบว่าเป็นอาหารของผู้ดีหรืออาหารชาววัง
อาหารหลวงพระบางแท้มีรสเบาไม่จัดจ้าน ไม่มีพริกแกง มักไม่ใช้การผัดหรือทอดน้ำมัน แต่ใช้การนึ่ง ต้ม เป็นส่วนใหญ่ วิธีการปรุงง่าย ไม่ซับซ้อน ยกเว้นอาหารของชาววังในราชสำนัก จะมีขั้นตอนและวิธีการปรุงซับซ้อนขึ้น ซึ่งทุกวันนี้อาหารชาววังตำรับหลวงพระบางสามารถหารับประทานได้ตามร้านอาหาร บางแห่งในหลวงพระบางและเวียงจันทน์ ดังเช่นอาหารแนะนำซึ่งมีเฉพาะถิ่นของหลวงพระบางดังนี้
ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมการบริโภคใกล้เคียงคนไทยมากที่สุด เรียกว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ชาวไทยบางชนเผ่าสืบเชื้อสายมาจากลาว พี่น้องลาวบางคนยังอาศัยอยู่ในเมืองไทย อาหารลาวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากและมีลักษณะไม่แตกต่างจากอาหารอีสาน แต่มีบางพื้นที่ของลาวเช่นลาวเหนือ ในหลวงพระบางมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างออกไป ชาวลาวมีวัฒนธรรมการบริโภคที่เป็นกันเองไม่ยุ่งยาก ตามธรรมเนียมแล้วชาวลาวจะไม่นั่งโต๊ะสูง จะล้อมวงรับประทานอาหารบนสาด (เสื่อไม้ไผ่) และทานข้าวบนโตก โดยเรียกว่า พาข้าว (พาเข่า) อาหารจัดมาเป็นสํารับออกพร้อมกันหมด ใช้มือรับประทานและมีช้อนแกงสําหรับตักอาหาร ชาวลาวเป็นคนมีน้ำใจ เมื่อมีงานเลี้ยงจะเลี้ยงดูแขกเหรื่อ จัดอาหารมารับรองมากมาย ด้วยหากจัดอาหารไม่พอแขกจะเป็นที่ขายหน้า
วัตถุดิบอาหารของลาวไม่แตกต่างจากไทย อาหารโปรตีนได้มาจากเนื้อวัว ควาย และหมู เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภค นอกจากนี้ยังมีปลาแม่น้ำ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดจากแม่น้ำโขง การปรุงอาหารของลาวทําโดยเรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก มีเครื่องมือน้อยชิ้น เช่นครก สาก หม้อ มีด เขียง หวด ปกติแล้วไม่นิยมใช้น้ำมันในการปรุงอาหารนอกจากอาหารผัดทอดที่รับวัฒนธรรมมาจากจีนหรือฝรั่งเศสอาหารลาวปรุงสุกได้โดยเร็วจึงยังรักษาคุณค่าทางอาหาร ชาวลาวไมนิยมเก็บวัตถุดิบอาหารตุนไว้ พรอมจะทําอาหารเมื่อไหร่จะไปซื้อหรือจับหามาสดๆ ใช้น้ำปลา ปลาร้าและข่าเปนองคประกอบสําคัญในการปรุงรส

        คนลาวบริโภคข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับคนไทยอีสาน นอกจากรับประทานเป็นข้าวนึ่งแล้ว ยังนํามาชุบไข่ย่าง เรียกว่า ข้าวจี่ นิยมบริโภคในหน้าหนาว และใช้ในงานประเพณีบุญข้าวจี่ในวันมาฆบูชา นอกจากแกง (ไม่ใส่กะทิ) ปิ้ง ย่าง อั่ว (ยัดไส้) นึ่ง ต้ม แล้ว ลาวยังมีวิธีการปรุงอาหารที่เรียกชื่อต่างจากชาวไทยอีสานคือ ขนาบ ซึ่งหมายถึงการห่ออาหารด้วยใบตองและนําไปย่างไฟอ่อนๆ ซึ่งการทําอาหาร ในลักษณะนี้ทางภาคเหนือของไทยเรียก แอบ การทําเอาะของลาว แตกต่างจากการทําอ่อมของไทย มักมีผู้เข้าใจผิดในชื่ออาหารนี้ เอาะหมายถึงการต้มเนื้อสัตว์หรือปลาร้ากับน้ำ และพริก หอม และดอกผักบั่ว (ต้นหอม) คล้ายๆการตุ๋นอย่างหนึ่ง เอาะบางตํารับใส่ไข่ด้วย
ลาบจัดเป็นอาหารประจําชาติ ในงานเทศกาลรื่นเริง หรืองานมงคล ชาวบ้านจะมารวมวงช่วยกันทําลาบด้วย คําว่าลาบพ้องเสียงกับคําว่า ลาภ ซึ่งมีความหมายเป็นสิริ ปกติชาวลาวจะทําลาบจากปลา ไก่ หรือ  เป็ด การทําลาบเนื้อมักทํารับประทานกันในงานใหญ่ ส่วนผสมในลาบจะมีผักสมุนไพร มีข่าที่สับไปกับเนื้อลาบ หรือลาวทางหลวงพระบางจะทําลาบที่มีเครื่องเทศที่มีคุณสมบัติเป็นยาต่างๆ ลาวเวียงจันทน์จะทําลาบ

   เหมือนฝั่งอีสานคือลาบร่วนและมีรสเปรี้ยวนํา การเรียกชื่อลาบแต่ละสูตร เรียกตามเนื้อสัตว์ที่นํามาเป็นสวนประกอบหลัก เช่นลาบควาย ลาบวัว ลาบหมู ลาบปากแกง เป็นต้น การดองอาหารจะเรียกว่า ส้ม เช่น ส้มผักกาด ส้มจิ้น (แหนมวัว) ส้มไขปลา เมื่อดองได้ที่จะรับประทานเลยหรือนําไปปรุงอาหารอย่างอื่นเช่น หลนส้มไข่ปลา แจ่วเป็นอาหารที่ต้องมีขึ้นสํารับ ใช้เสริมรสชาติหรือจิ้มผักหรือเนื้อสัตว์ แจ่วที่ใช้จิ้มเนื้อสัตว์อาจผสมกระเทียม หอม ตะใคร้ให้มากขึ้นจากแจ่วพริกสด หรือ แจ่วหมากเลน (มะเขือเทศ พริก ปลาร้า) ธรรมดา
แกงของลาวไม่ใส่กะทิ แกงบางตํารับรับวัฒนธรรมมาจากฝรั่งเศส เช่นไก่ต้มหัวผักสวน หรือแกงจืดไก่ใส่แครอท ซึ่งรับมาจากการทําซุปน้ำใสของฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีอาหารฝรั่งเศสที่ลาวรับมาอีก คือแซนด์วิชลาว หรือ ขาวจี่ปาเตะ นําขนมปังฝรั่งเศส (Baguette) สอดไส้ด้วยตับบด (pate) มีผักกาดหอมมะละกอดอง หรือผักดองต่างๆ ใส่ซอสพริก พบเห็นได้ทั่วไปตามตลาดเช้า ยําสลัด ขาวปุ้น และเฝอเป็นอีกตัวอย่างของอาหารที่ลาวรับวัฒนธรรมมาจากชาติอื่น
    ผักผลไม้ที่เป็นผล ลาวจะเรียกว่าหมาก หมากไม้ (ผลไม้) ที่ลาวนิยมก็ไม่ต่างไปจากผลไมไทยและผลไมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ที่หลวงพระบางจะมีผักน้ำ (Watercress) ซึ่งเป็นที่นิยมนํามาทํา สลัดหลวงพระบาง (มนัชญา งามศักดิ์, 2554)

ประโยชน์ของซุบไก่
            หวัด” โรคภัยไข้เจ็บที่มักมากับฤดูหนาว โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดี และยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อหวัดเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เราจึงมักพบเด็กเล็กในเนอสเซอรี่หรือในโรงเรียนอนุบาลเป็นหวัดปีละหลายๆ ครั้ง เพราะติดหวัดกันไปมา เด็กๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการมีน้ำมูกคั่งค้าง ทำให้หายใจไม่ออก นอนไม่ได้
แม้ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีทางการแพทย์จะทันสมัยขึ้นมาก แต่ปัญหานี้ก็ยังไม่สามารถแก้ได้ เนื่องจากไม่มียาที่จะไปฆ่าเชื้อไวรัสหวัดได้โดยตรง มีเพียงแต่ยารักษาตามอาการเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม สังคมมนุษย์ได้สั่งสมประสบการณ์ในการใช้ตำรับอาหารต้านหวัด เพื่อแก้ปัญหาไห้กับตัวเองมาอย่างยาวนาน ซึ่งหนึ่งในตำรับอาหารยอดนิยมของคนทุกชาติคือ “ซุปไก่” นั่นเอง

ซุปไก่” ตำรับอาหารดั้งเดิม ที่มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองของ ดร.สตีเฟน เรนนาร์ด หัวหน้าแผนกโรคปอด แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสกา พบว่า ซุปไก่ มีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า นิวโทรฟิลด์ ไปยังเนื้อเยื่อปอด ซึ่งจะช่วยลดขบวนการอักเสบในปอด และลดอาการไอได้ ตำรับซุปไก่ดังกล่าวเรียกกันว่า ซุปของคุณยาย(Grandma's soup) ซึ่งประกอบด้วย ไก่ มะเขือเทศ หัวหอมใหญ่ มันฝรั่ง ก้านขึ้นฉ่าย ผักชี แครอท หัวผักกาด เกลือ และพริกไทยผลการศึกษานี้ สนับสนุนการใช้ซุปไก่รักษาอาการที่เกิดขึ้นจากหวัด สอดคล้องกับการใช้ซุปไก่เป็นยาแก้หวัดในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยซุปไก่สามารถบรรเทาอาการคัดจมูกและป้องกันไม่ให้เกิดการไอซ้ำซ้อน แม้เจือจางซุปไก่ตุ๋นด้วยน้ำ 200 ส่วนก็ยังออกฤทธิ์ได้ นั่นเป็นเพราะว่าในไก่มีกรดอะมิโนตามธรรมชาติ ชื่อ ซีสเทอีน (Cysteine) ซึ่งจะละลายในน้ำเมื่อต้มน้ำซุป และซีสเทอีนนี้ มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับยาขับเสมหะที่มีใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ อะเซทีลซีสเทอีน (Acetylcysteine)
นอกจากกรดอะมิโนแอซิดดังกล่าวแล้ว ในซุปไก่ รวมทั้ง ต้มยำไก่ แกงไก่ ซึ่งอาจเรียกเป็นซุปไก่ของแต่ละชนชาติ ยังมีสมุนไพรที่ช่วยต้านหวัดร่วมอยู่อยู่อีกหลายชนิด เช่น
กระเทียม : สมุนไพรคู่ครัวลาว ที่ใช้รักษาหวัดมานานนับพันปี มีการศึกษาพบว่า การรับประทานกระเทียมสดสามารถป้องกันและลดระยะเวลาการเป็นหวัดได้ และมีรายงานการศึกษาวิจัยของญี่ปุ่นในการใช้กระเทียมดอง Aged Garlic Extact (AGE) โดยให้ AGE ทางปากหนูถีบจักร 10 วัน ก่อนให้เชื้อไข้หวัดใหญ่ทางจมูก พบว่า AGE มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิผลในการป้องกันหวัดได้ดีเท่ากับวัคซีน นอกจากนี้แล้วกระเทียมยังเป็นสมุนไพรที่บำรุงร่างกายได้ดีเยี่ยมอีกด้วย
หอมใหญ่ : คนลาวมีการใช้หอมในการรักษาหวัดมานานแล้ว และพบว่าทั้งหอมใหญ่ และหอมเล็กมีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านฮิสตามีน ช่วยขยายหลอดลม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย
กะเพรา : เครื่องเทศที่คนลาวนิยมใช้ใบใส่ในแกงไก่ และเป็นสมุนไพรที่คนไทยและคนอินเดียนิยมแก้ไอ แก้หวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
พริกไทย : คนไทยใช้พริกไทยในการเป็นยาช่วยย่อย และยาแก้หวัดมานาน ในพริกไทยมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยแก้หวัดได้ และได้ถูกนำใช้ไปเป็นส่วนผสมของน้ำมันที่ใช้สูดดมเพื่อให้โล่งจูมก
ตะไคร้ : คนไทยนิยมใส่ในต้มยำไก่ แกงไก่ เป็นสมุนไพรที่คนไทยและคนจีนโบราณใช้ในการรักษาหวัด หวัดใหญ่ แก้ไข้ แก้ปวดหัว มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดีเยี่ยม ตะไคร้เหมาะสำหรับการบรรเทาอาการหวัด เพราะมีรสเผ็ดร้อน และมีน้ำมันหอมระเหย ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้ผ่อนคลาย อีกทั้ง การวิจัยในปัจจุบันยังสนับสนุนว่าสามารถต้านไวรัสไข้หวัดได้
ข่า : สมุนไพรรสร้อนที่เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ช่วยดับกลิ่นคาว ช่วยย่อย ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยลดน้ำมูก ลดอาการอักเสบ และลดอาการอื่น ๆ อันเนื่องจากหวัดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของสมุนไพรทีมีประโยชน์ในการต้านหวัด ซึ่งเราสามารถสร้างตำรับอาหารได้เองตามใจชอบ โดยมีซุปไก่เป็นพื้นฐาน ถ้าเป็นไก่บ้านก็จะดีมาก เพราะเชื่อว่าปลอดภัยจากสาเคมี โดยตั้งตำรับให้เหมาะสมกับคนในแต่ละวัย และการรับประทานซุปไก่ควรรับประทานในขณะร้อนๆ จะช่วยให้อาการหวัดดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามในการรักษาหรือป้องกันหวัดนั้น เป็นการฟื้นฟูความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม ดังนั้น ในยามที่เกิดการระบาดของหวัด เราควรจะรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงๆ เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม มะนาว ส้มเขียวหวาน ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม อาหารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แครอท พริกไทย ผักใบเขียว องุ่น รวมทั้ง การปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารโดยการรับประทานนมเปรี้ยว ข้าวหมาก ซึ่งอาหารเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นสารแกมมาอินเตอร์ฟีรอนหรือภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกาย การได้รับแสงแดดอย่างเหมาะสม การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การพักผ่อนที่เหมาะสม การปล่อยวางทางจิตใจ ก็เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เช่นกัน


    .สลัดหลวงพระบาง อาหารอาเซียนยอดนิยม ประเทศลาว

สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) เป็นอาหารขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีรสชาติกลาง ๆ ทำให้รับประทานได้ทั้งชาวตะวันออก และตะวันตก โดยส่วนประกอบสำคัญคือ ผักน้ำ ซึ่งเป็นผักป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ำไหล และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น  มันแกว แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับลวกสุก ส่วนวิธีปรุงรสคือ ราดด้วยน้ำสลัดชนิดใส คลุกส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วโรยหน้าด้วกระเทียมเจียว และถั่วลิสงคั่ว
    เฝอถือว่าเป็นอาหารจานด่วนที่มีทั่วไปทุกเมือง หน้าตาไม่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวน้ำใสประเทศไทยนิยมใส่เนื้อสัตว์เพื่อเพิ่มรสชาติและจะมีผักสดเป็นเครื่องเคียง ปรุงรสด้วยมะนาว กะปิ พริกเผา และน้ำปลา จะให้อร่อยมันต้องเติมซอสพริก(ที่นำเข้าจากไทย) ซึ่งวางเป็นเครื่องปรุงอยู่กลางโต๊ะนั่นแหล่ะ มันจะทำให้น้ำซุปเปลี่ยนเป็นสีแดงข้น รสชาติหวานๆเปรี้ยวๆอร่อยดี

 บาแกตต์ (ข้าวจี่, แป้งจี่) 
ชื่อเมนูอาจจะฟังไม่คุ้น แท้จริงแล้ว คือ บาแก็ต (baguette) หรือขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังใส่ไส้นั่นเอง มาจากอารยธรรมของฝรั่งเศสที่ถ่ายทอดผ่านแผ่นดินลาว และเข้ามาทางภาคอีสานของประเทศไทย โดยในครั้งนี้แม่บ้านขอจัดเต็มด้วยไส้ต่าง ๆ ที่อัดแน่นลงไปอย่างเต็มที่ แล้วราดซอสปรุงรสอีกนิดหน่อย แค่นี้ก็อร่อยได้ทุกที่แล้ว


ลาบ เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสานและภาคเหนือ โดยนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุง ซึ่งเนื้อที่มาทำลาบเป็นเนื้อหลายชนิด

ข้าวเปียก
ข้าวเปียก หน้าตาจะคล้ายก๋วยเตี๋ยวประเทศไทยและเฝอของประเทศลาว แต่ที่จะแต่ต่างอย่างเห็นได้ชัดคือเส้นของข้าวเปียกจะเป็นเส้นกลมๆและมีความเหนี่ยวกว่า จะโรยหน้าด้วยผักชี หมูยอ และมีผักสดเป็นเครื่องเคียง

ไคแผ่น (ไกแผ่น) “ ไค” เป็นสาหร่ายน้ำจืด รูปร่างเป็นเส้นยาวละเอียดคล้ายเส้นผมสตรี สีเขียวสด ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามห้วยธารที่น้ำไหลตลอดเวลาและใสสะอาด ไคจะไม่ขึ้นในที่น้ำขังหรือแหล่งน้ำสกปรก ไคแถบเมืองหลวงพระบางมิได้มีอยู่ในแหล่งน้ำทั่วไป ไคที่ได้ชื่อว่าคุณภาพดีต้องเป็นไคจากแม่น้ำโขง เมื่อเก็บไคมาแล้วต้องนำมาล้างให้สะอาด เอาเศษดินเศษทรายออกจนหมด จากนั้นนำไคมาชุบน้ำละลายส้มมะขามซึ่งผสมด้วยขิง ข่า กระเทียม หอมใหญ่ มะเขือเทศ ผงชูรส และเกลือ แล้วรอให้สะเด็ดน้ำ แผ่ไคบนตับใบคาโดยใช้ไม้ตีไคแผ่ออกเป็นแผ่นและบางที่สุด เสร็จแล้วโรยหน้าด้วยงาขาว ตากแดดให้แห้ง เวลาเก็บจะม้วนเป็นก้อนกลม ทำนองเดียวกับม้วนผ้า วิธีการกินก็คือ เมื่อจะกินก็ใช้กรรไกรตัดไคเป็นชิ้นน้อยๆ ทอดในน้ำมันร้อนๆ แต่ไฟต้องอ่อน การทอดต้องรวดเร็วแบบจุ่มแล้วเอาขึ้นทันที มิฉะนั้นไคจะไหม้ รสติดขม ไม่อร่อย ไคแผ่นทอดเป็นอาหารว่างหรือของแกล้มที่ชาวหลวงพระบางนิยมกินกัน และมักใช้จิ้มกับแจ่วบอง เพิ่มรสอร่อยขึ้นอีกหลายเท่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาหารลาว หลวงพระบางเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของภาคเหนือลาว อาจกล่าวได้ว่าหลวงพระบางเป็นเมืองที่มีข้าวปลา-อาหารอุดมสมบูรณ์ที่สุดเมืองหนึ่งขอ...